ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การทำเรื่องขอบุตรมาอยู่ฝรั่งเศส

การทำเรื่องขอบุตรมาอยู่ฝรั่งเศส  

กรณีต้องการให้บุตร ติดตามมาอยู่ด้วยที่ฝรั่งเศส โดยบิดาหรือมารดาแต่งงานใหม่กับชาวฝรั่งเศส และต้องการทำเรื่องให้บุตรที่เกิดจากสามี/ภรรยาคนก่อนมาอยู่ด้วยกับตน (เด็กอายุ ไม่เกิน 18 ปี และอยู่ในความปกครองของมารดา/บิดาที่ต้องการขอบุตรมาด้วย)

สามารถทำได้ 2 ทาง
  1. ขอวีซ่าจากสถานทูตฝรั่งเศสในไทย---โดย ทำได้ทันทีหลังจากที่คุณแต่งงาน ขอวีซ่าติดตามแม่(ให้กับลูก) พร้อมกับตอนที่แม่ขอวีซ่าติดตามสามี ....หรือ เมื่อมาอยู่ฝรั่งเศสแล้ว แต่อยู่ไม่นานไม่เกิน 1 ปี ก็สามารถบินไปเดินเรื่องเอกสาร ทำวีซ่าติดตามแม่ ให้ลูกมาอยู่ฝรั่งเศสได้เช่นกัน
  2. ขออนุมัติจาก OFII---โดยต้องรอให้อยู่ฝรั่งเศสมากกว่า 18 เดือนขึ้นไป (และแต่งงานกันกับคู่สมรสชาวฝรั่งเศสมากว่า 1 ปี ..แต่การที่คุณมาอยู่ฝรั่งเศสได้มากกว่า 18 เดือน คุณก็ต้องแต่งงานมานานกว่า 1 ปี หากคุณมาอยู่ฝรั่งเศสด้วยวีซ่าติดตามคู่สมรสอย่างถูกต้อง)  โดยติดต่อขอทำเรื่อง Regroupement Famillial ได้ 

          การทำ Regropement Familial นั้น จะใช้เวลาดำเนินเอกสารค่อนข้างนาน ทางเจ้าหน้าที่จะขอเอกสารค่อนข้างเยอะ มีการตรวจสอบรายได้ว่าเพียงพอต่อการดูแลเด็กหรือไม่ มีที่พักเพียงพอสำหรับสมาชิกที่จะมีมาเพิ่มไหม ฯลฯ บางเคสรอนานถึง 3 ปีก็มีค่ะ (เท่าที่ทราบ มีเพื่อนที่รู้จักทำไวสุด รวมติดต่อเดินเอกสาร จนถึงเด็กบินมาอยู่ฝรั่งเศส รวมแล้ว 1 ปีค่ะ)

คำแนะนำ
 1. หากท่านได้วางแผนว่าจะขอบุตรมาอยู่ด้วยที่ฝรั่งเศส ควรรีบดำเนินการ หลังจากที่ท่านแต่งงาน โดยขอวีซ่าของท่านพร้อมของบุตรในคราวเดียวกันเลยจากสถานทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย
2. ข้อจำกัดเรื่องอายุของเด็ก ในการจะขอวีซ่าให้บุตรมาอยู่ด้วยที่ฝรั่งเศสนั้น เด็กต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปี ดังนั้น ถ้าบุตรอายุยังน้อยๆ ควรรีบดำเนินการขอวีซ่า ถ้าบุตรอายุมากขึ้น การขออนุมัติวีซ่าจะยิ่งยากขึ้น
เช่น ขอให้เด็กอายุ 3 ขวบ จะง่ายกว่า เด็กอายุวัยรุ่น
3. บางเคส ขอวีซ่าให้ลูกจากเมืองไทยแล้ว วีซ่าไม่ผ่าน และอายุของลูกก็มากขึ้นเรือยๆ หากต้องรอให้อยู่ฝรั่งเศสครบ 18 เดือน ลูกก็จะอายุเลยเกณฑ์ที่จะทำ Regroupment Familial นั้น แอดมินแนะนำว่า รอให้น้องเรียนจบ ม.6 แล้วค่อยทำวีซ่านักเรียนให้น้องมาเรียนภาษา และเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ฝรั่งเศสก็ได้ค่ะ
4. การมาอยู่ฝรั่งเศสของเด็ก ถ้าเด็กมาเมื่ออายุยังน้อย ก็ปรับตัวได้ไว แต่ถ้าน้องมาในช่วง ม.ปลาย ความยุ่งยากจะมากขึ้น เพราะต้องปรับตัวหลายอย่าง ทั้งเนื้อหาการเรียนที่ยากขึ้น และภาษาที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน การเขียน การทำข้อสอบ และช่วงม.ปลาย จะเป็นช่วงรอยต่อ ที่จะเข้ามหาวิทยาลัย หากน้องทำคะแนนได้ดีในโรงเรียน ก็จะสามารถเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ในคณะ สาขา ที่ชอบได้
แต่ถ้า คะแนน ช่วง ม.ปลายไม่ดี (เพราะภาษาไม่ดี) น้องก็อาจจำเป็นต้องเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบไม่ถนัด
5. บางครั้ง ผู้ปกครอง คงต้องถ่วงน้ำหนักว่า จะขอให้น้องมาช่วง ม.ปลาย ด้วยวีซ่าติดตามแม่ หรือว่าควรรอให้จบ ม.ปลาย แล้วทำวีซ่านักเรียน มาเรียนต่อภาษาจากนั้นค่อยเรียนต่อมหาวิทยาลัยดี เพราะ หากเรียนจบ ม.ปลายแล้ว เด็กมาปีแรกๆ ก็เน้นเรียนภาษาอย่างเดียว จากนั้น ค่อยเรียนต่อในสายวิชาที่ชอบจริงๆ

 เพิ่มเติม
ถ้ามีคำถาม สามารถพิมพ์เข้ามาถาม หรือปรึกษาได้เลยนะคะ ยินดีแชร์ความรู้ประสบการณ์ และหากข้อมูลใดแอดมินไม่ทราบก็ยินดีไปค้นหาข้อมูลเพิ่มให้ค่ะ

ความคิดเห็น

  1. แล้วในกรณีที่ไม่ได้แต่งงานและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศส​ แต่อยู่ด้วยกันแบบคู่รัก​และได้ยื่นทำเรื่องกับ​ ofil​ แล้ว​ และทาง​ OFII​ ได้อนุมัติ​และได้มาเยี่ยมชมบ้านแล้ว​ เราสามารถไปรับลูกและสามารถขอวีซ่าการเดินทางเข้าฝรั่งเศสได้ไหมคะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การทำใบเชิญ Attestation d'accueil เพื่อทำวีซ่าเชิญญาติมาเยี่ยมที่ฝรั่งเศส

การเดินเรื่องให้ญาติ/เพื่อน/แฟนมาเยี่ยมที่ฝรั่งเศส นั้นผู้เชิญจะตอ้งไปทำเรื่องขอใบ Attestation d'accueil เพื่อให้ผู้ถูกเชิญนำไปประกอบการยื่นขอวีซ่า สถานที่ขอ Attestation d'accueil การขอ Attestation d'accueil นั้น บางเมืองให้ไปขอที่ la mairie (city hall ในภาษาอังกฤษ หรือบ้านเราอาจเรียกได้ว่า ศาลากลางจังหวัด) แต่ก็มีบางเมืองที่ให้ไปขอที่ police municipale (local police ในภาษาอังกฤษ หรือ บ้านเราอาจเรียกว่า ตำรวจนครบาล) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการขอ Attestation d'accueil  เอกสารที่ใช้แต่ละเมืองอาจไม่เหมือนกัน ผู้ขอต้องไปถามที่ La Mairie หรือ Police Municipale ตัวอย่างเอกสารใช้ประกอบการขอใบเชิญของเมืองหนึ่งในเขต 92 มีดัง นี้  1. เอกสารหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของบ้าน หรือ สัญญาเช่าบ้าน 2. ใบแสดงรายละเอียดของบ้านว่าขนาดเท่าไร มีกี่ห้อง 3. หลักฐานว่าได้อยู่อาศัยในบ้านหลังน้้นจริง เช่น บิลค่าไฟ 4. สำเนาบัตรประชาชน หรือ การ์ดอยู่อาศัยประเทศฝรั่งเศส 5. สมุดครอบครัว 6. ใบเสียภาษีเงินได้ 7. หลักฐานแสดงที่มาของรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน , เงินว่างงาน ฯลฯ 8. อากรสแตมป...

วีซ่าติดตามบุตร ชาวฝรั่งเศส

วีซ่าติดตามบุตร (ระยะยาว) ชาวฝรั่งเศส กรณีมีบุตรกับชาวฝรั่งเศส แต่ไม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่สามี หรือ ภรรยาที่มีสัญชาติฝรั่งเศส ได้รับรองบุตร บุตรจะมีสัญชาติฝรังเศส และตัวของพ่อหรือแม่ ที่เป็นคนไทย ต้องการไปอยู่ฝรั่งเศสกับลูก (ไประยะยาว) ให้ทำวีซ่าติดตามบุตร เอกสาร  1. ใบสมัครวีซ่าพำนักระยะยาว (ฉบับจริง) 2. รูปถ่ายสีประจำตัวขนาด 3.5 ซม. x 4.5 ซม. โดยมีพื้นหลังสีขาว จำนวน 2 รูป 3. หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา  (วันหมดอายุของหนังสือเดินทางต้องมากกว่า 15 เดือน นับจากวันที่ท่านวางแผนเดินทางออกจาก ประเทศไทย, โดยจะต้องมีหน้าว่างสำหรับวีซ่าอย่างน้อย 2 หน้าเพื่อประทับตราวีซ่า) 4. ใบเกิดของลูก ภาษาฝรั่งเศส ที่ทางสถานฑูตฝรั่งเศสออกให้ตอนที่ไปแจ้งเกิดลูกที่สถานฑูต 5. เอกสารใดๆ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้สมัครให้การสนับสนุนทางด้านการเงิน และการศึกษาแก่บุตร 6. เอกสารยืนยันแหล่งเงินได้ของผู้สมัคร และ เอกสารการทำงานของแฟน   7. รายการเดินบัญชีครอบคลุมระยะเวลา 3 เดือนล่าสุด ทั้งของพ่อ และ แม่เด็ก 8. เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้เยาว์พำนักอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส จดหมายเชิญ...

วีซ่าติดตามสามีชาวฝรั่งเศส

ขั้นตอนการยื่นวีซ่าพำนักระยะยาว ขั้นตอนการยื่นวีซ่าพำนักระยะยาว ประเทศฝรั่งเศส (กรณีจดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศส) ติดต่อ TLS contact    สาทรซิตี้ทาวเวอร์ ชั้นที่ 12 ถนนสาทรใต้ เพื่อทำการนัดยื่นเอกสารและติดตามผลวีซ่า https://www.tlscontact.com/th2fr/login.php เอกสารสำหรับยื่นขอวีซ่าพำนักระยะยาว ดูแบบฟอร์มทั้งหมด https://www.tlscontact.com/th2fr/page.php?pid=download_forms 1.ใบสมัครวีซ่าพำนักระยะยาว (ฉบับจริง) ดาวน์โหลด https://www.tlscontact.com/th2fr/upload/long_stay_application_form.pdf 2.แบบOFII ดาวน์โหลด  https://www.tlscontact.com/th2fr/upload/ofii_form_en.pdf 3. รูปถ่ายสีประจะตัวล่าสุด หน้าตรง 2รูป  ขนาด 3.5 cm x 4.5 cm พื้นหลังสีขาวและถ่ายไม่เกิน 6 เดือน 4. หนังสือเดินทางแบับจริงมีวันหมดอายุมากกว่า 15เดือน และมีหน้าว่างสำหรับวีซ่าอย่างน้อย 2 หน้าเพื่อประทับตราวีซ่า พร้อมสำเนา 5. สำเนาทะเบียนสมรสฝรั่งเศส ที่มีอายุไม่เกิน2เดือน หรือใบคัดสำเนาทะเบียนสมรสที่ออกโดยนายทะเบียนฝรั่งเศส 6. เอกสารแสดงความเป็นสัญชาติฝรั่งเศสของคู่สมรส พร้อมสำ...